top of page

โรคแมลงศัตรูทุเรียนและการป้องกันกำจัด


ไรแดงทุเรียน

ไรแดงมีการระบาดมากในช่วงฤดูหนาวหรือตอนฝนทิ้งช่วง ซึ่ง มีอากาศแห้งแล้งและลมแรง โดยไรแดงจะดูดน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณหน้าใบ ของทุเรียน โดยเฉพาะตามแนวเส้นกลางใบ เห็นคราบไรเป็นสีขาวเกาะ ติดบนใบเป็นผงสีขาวคล้ายนุ่นจับ และจะทำให้ใบร่วง หลังจากนั้น ทุเรียนจะแตกใบใหม่ ซึ่งจะตรงกับช่วงดอกบานหรือเริ่มติดผล ทำให้ ดอกและผลร่วงเสียหาย แต่ถ้าเป็นช่วงผลอ่อนแล้ว จะทำให้ผลบิดเบี้ยว ทรงไม่ดี นอกจากนั้นแล้วไรแดงยังดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนของผลอ่อน ใบอ่อน กิ่งอ่อน ได้อีกด้วย

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน

  1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมไรแดง ได้แก่ ไรตัวห้ำ ด้วงเต่า แมลงวันขายาว แมงมุม

  2. ถ้าสำรวจพบไรแดงกระจายทั่วทั้งสวน ให้ฉีดน้ำให้ทั่วในทรงพุ่ม ของต้นเพื่อลดปริมาณไรแดงลง

เพลี้ยไก่แจ้

ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อใบพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8-14 วง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดประมาณ 3 มิลลิลิตร และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำตัว มีปุยขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก้แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อแมลงลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิลิตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อย บินนอกจากถูกกระทบกระเทือน แมลงชนิดนี้มีระบาดอยู่ในบริเวณที่ปลูกทุเรียนทั่ว ๆ ไป ระยะเวลาการระบาดคือ ช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน ระหว่างกลางเดือน พฤษภาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบอ่อน ของทุเรียน ทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมาก ทำให้ใบอ่อนเป็น จุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมาก ๆ ใบ จะหงิกงอแห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและ ตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมาเป็นสาเหตุทำให้ เกิดเชื้อราตามบริเวณที่มีสารสีขาว

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน

  1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ ตามธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่าปีกลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายสมอ แมลงช้าง ต่อต่าง ๆ แมงมุม

  2. การกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการใส่ปุ๋ย ยูเรีย (46-0-0) อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น จะช่วยลดช่วงเวลาการเข้า ทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง และจะทำการควบคุมได้ในเวลาพร้อมกัน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน ปีกสีน้ำตาลเข้ม มีจุดสีเหลือง หรือเหลืองปนขาวข้างละ 3 จุด มักพบตัวเต็มวัยอยู่ในสวนเมื่อผล ทุเรียนมีอายุประมาณ 2 เดือน ตัวเต็มวัยจะวางไข่บนผลทุเรียนใกล้ ๆ ขั้ว เป็นฟองเดี่ยว ๆ ต่อมา หนอนจะไชเข้าไปภายในและกัดกินเมล็ด โดยไม่ทำลายเนื้อทุเรียนเลย ยกเว้นจะมีทางเดินเล็ก ๆ ระหว่างเนื้อและ ผิวเปลือกด้านในซึ่งจะมีรอยเป็นเส้น เมล็ดที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะอยู่ ในระยะที่เมล็ดในแข็งแล้ว โดยหนอนจะใช้เวลาเจริญเติบโตอยู่ภายใน เมล็ดประมาณ 30 วัน

การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนนั้น หนอนชนิดนี้จะ เจาะไชเข้าไปภายในเมล็ดกัดกินและขับถ่ายมูลออกมา ทำให้เนื้อทุเรียน เปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หนอนโตเต็มที่พร้อมจะเข้าดักแด้ก็จะเจาะออกจากผลเป็นรูและทิ้งตัว เข้าดักแด้ในดินซึ่งเข้าใจว่าจะออกจากดักแด้ในฤดูถัดไปทุเรียนที่ถูก ทำลายและมีรูที่หนอนเจาะออกมานี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน

ใช้กับดักแสงไฟ เพื่อล่อดักทำลายผีเสื้อ ซึ่งจะทำให้ลด ปริมาณการระบาดลงได้ และผลจากการติดตั้งกับดักแสงไฟจะทำให้ ทราบว่า เริ่มมีผีเสื้อในช่วงไหน เพื่อจะทำให้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงได้ถูก ช่วงเวลา


หนอนเจาะผล

เป็นหนอนของผีเสื้อขนาดเล็กปีกสีเหลืองมีจุดสีดำ เข้าทำลาย ผลทุเรียนตั้งแต่ผลเล็กจนกระทั่งผลโต โดยตัวแก่จะวางไข่ภายนอก ผลทุเรียน ในระยะแรกที่หนอนฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะแทะกินอยู่ตาม ผิวเปลือกผลทุเรียนก่อนเมื่อโตขึ้นจึงจะเจาะกินเข้าไปภายใน ถ้าหาก เจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อทุเรียนจะทำให้เนื้อบริเวณที่หนอนเจาะนี้เน่า เมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะเห็นมูลของหนอนได้อย่างชัดเจน และมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่จัด หนอนจะเข้าทำลายผลที่อยู่ติดกัน มากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะหนอนที่เพิ่งจะฟักจากไข่ชอบอาศัยอยู่ ที่รอยสัมผัสนี้

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน

  1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนเจาะขั้วผลตามธรรมชาติ ได้แก่ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต แมงมุม แมลงวันเบียน แตนเบียน

  2. ใช้หลอดแบล็คบลูไลท์ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย

  3. ตัดแต่งผลทุเรียนไม่ให้มีมากหรือติดกันเกินไป หรืออาจใช้ วัสดุ เช่น กาบมะพร้าว หรือเศษไม้กั้นระหว่างผลเพื่อป้องกันไม่ให้ ตัวเต็มวัยวางไข่ หรือตัวหนอนหลบอาศัยอยู่

  4. หลังตัดแต่งผลครั้งที่ 3 เมื่อตรวจพบผลถูกทำลาย ให้ฉีดพ่น สารเคมีเฉพาะต้นที่ถูกทำลายชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้ - ไซฮาโลธริน แอล 2.5% อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร - คาร์โบซัลแฟน 20%อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร - คลอร์ไพริฟอส 40%อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

  5. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงควรเก็บทำลายโดยเผาไฟหรือฝังเสีย

หนอนกินขั้วผล

หนอนกินขั้วผลจะไชชอนและกินอยู่ที่บริเวณขั้วผล หรือต่ำกว่า ขั้วผลลงมาเล็กน้อย ถ้ามีหนอนเข้าทำลายมากจะทำให้ผลหลุดออกจาก ขั้วและร่วง พบเข้าทำลายในระยะผลอ่อน

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน

  1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนกินขั้วผลตามธรรมชาติ ได้แก่ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต ต่อห้ำ แตนเบียน

  2. ใช้หลอดไฟแบล็คบลูไลท์ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย

  3. หลังจากตัดแต่งผลครั้งที่ 3 แล้ว ตรวจพบผลทุเรียนถูก ทำลายจำนวนตั้งแต่ 4 ผลต่อต้นขึ้นไป

โรครากเน่าและโคนเน่า

เป็นโรคที่สำคัญสำหรับทุเรียน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ ชาวสวนทุเรียนอย่างมาก ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดในที่สุด ใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ ให้สำรวจโคนต้น กิ่งหรือรากบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้ม คล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางไหลลงด้านล่าง หรือเป็นหยดน้ำตรง บริเวณแผลที่มีสีน้ำตาลปนแดง หรือมีรอยแตกของแผลและมีน้ำยาง ไหลออกมาในต้นที่เป็นโรครุนแรง ถ้าหากเป็นโรคที่ส่วนราก จะสังเกต เห็นใบมีอาการเหลืองซีด รากส่วนที่เน่ามีสีดำ เปื่อย และขาดง่าย เชื้อราไฟทอปโธรา สาเหตุของโรคสามารถแพร่กระจายโดยทาง ลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้น สูง จะเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคและการเข้าทำลายต้นทุเรียน

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน

  1. อนุรักษ์เชื้อราไตรโคเดอมาซึ่งเป็นเชื้อราพาราสิต หรือเป็น ศัตรูธรรมชาติของเชื้อราไฟทอปโธราในดินโดยการปรับปรุงดินให้เป็นกรดด่าง 6.5 ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราไตรโคเดอมาเพื่อช่วย ควบคุมเชื้อราไฟทอปโธราในดินตามธรรมชาติ ใช้เชื้อราไตรโคเดอมาจากการผลิตขยาย โดยการผสมเชื้อรากับรำ และปุ๋ยคอก อัตรา 1:25:25 ส่วน นำส่วนผสมนี้ไปรองก้นหลุมก่อน ปลูก อัตรา 1 กิโลกรัมต่อหลุม หรือนำไปโรยรอบ ๆ โคนต้นทุเรียน ที่โตแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น แล้วรดน้ำพอชุ่ม เพื่อช่วยควบคุม เชื้อราไฟทอปโธราในดิน

  2. วิธีเขตกรรม เมื่อพบอาการเริ่มแรกเพียงเล็กน้อย ให้ถาก เอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาแผลด้วยปูนแดง

  3. สารเคมี เมื่อพบอาการรุนแรง ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณแผล ออก แล้วทาด้วยสารเคมีเมตาแลกซิล50% อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ในกรณีที่พบอาการรุนแรงที่ส่วนรากหรือส่วนที่อยู่ตำแหน่งสูง ๆ ขึ้นไป ให้ใช้สารฟอสฟอรัสแอซิด อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำสะอาด 10 ซีซี ผสมใส่กระบอกฉีดยาแล้วนำไปฉีดเข้าในส่วนที่เป็นโรค เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า จะระบาดเมื่อดิน มีความชื้นสูง อากาศชื้นมีฝนตก จึงควรมีการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อสร้างสวนทุเรียน โดยเลือกพื้นที่ปลูกที่ระบายน้ำได้ดี มีการตัดแต่ง กิ่งทุเรียนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง มีการ พูนดินที่โคนต้นทุเรียนในลักษณะหลังเต่าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังแฉะ บริเวณโคนต้นทุเรียน

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยมูลค้างคาว #ปุ๋ยไซโต

bottom of page