top of page

วิธีทำนาดำให้ได้ผลผลิตดี

อัปเดตเมื่อ 12 ก.พ. 2562


วิธีทำนาดำให้ได้ผลผลิตดี

วิธีทำนา ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องการปลูกข้าวมายาวนาน เพราะเรามีภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกอย่างที่สุด เดิมทีพื้นที่ที่ปลูกข้าวหรือทำนามากที่สุดจะเป็นบริเวณภาคกลาง แต่ต่อมาเมื่อนวัตกรรมการปลูกข้าวพัฒนามากขึ้น เราก็สามารถปลูกข้าวได้ทุกพื้นที่ของประเทศ

เพียงแค่เปลี่ยนสายพันธุ์และวิธีการในเพาะปลูกเท่านั้น อย่างไรก็ตามการทำนาดำก็ยังเป็นรูปแบบการทำนาที่นิยมใช้กันมากที่สุดในขณะนี้ เราจึงจะมาเรียนรู้การทำนาดำแบบเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับเพิ่มผลผลิตได้

การทำนาดำจะแบ่งออกเป็นช่วงหลักๆ 2 ช่วงก็คือ ช่วงของการตกกล้าและช่วงของการถอนต้นกล้าไปลงนาใหญ่ การทำนาแบบนี้จำเป็นต้องใช้แรงงานคนค่อนข้างมาก แต่ก็มีข้อดีตรงที่ต้นข้าวจะเรียงตัวเป็นระเบียบ ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

ต้นข้าวไม่เกิดความเสียหายระหว่างทาง และผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสมบูรณ์ เมื่อนำไปขายก็ได้ราคาดี ส่วนสำคัญในการทำนาดำให้ได้ผลดีเยี่ยม เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินกันเลย

การเตรียมดิน

การเตรียมดินดูเหมือนว่าไม่น่าจะสำคัญอะไรมาก แต่กลับมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว การเตรียมดินในการทำนาดำจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

- ขั้นไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามลักษณะแนวยางของผืนนา ช่วยในการพลิกหน้าดินและเพิ่มออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินนั้น รวมถึงทำลายพวกวัชพืชแบบถอนรากถอนโคน

- ขั้นไถแปร เป็นการไถซ้ำตัดกับแนวการไถดะ การไถแปรนี้จะไถกี่ครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาและจำนวนวัชพืชที่มีอยู่

- ขั้นการคราด เป็นการทำงานในส่วนที่ละเอียดขึ้นกว่า 2 ขั้นตอนแรก นั่นคือการเก็บเศษวัชพืชออกไป พร้อมกับย่อยดินก้อนใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ตลอดจนปรับระดับที่นาให้เรียบเสมอกัน เป็นการสะดวกต่อการควบคุมปริมาณน้ำในภายหลังด้วย

- ขั้นการทำเทือก พูดง่ายๆ ก็คือการทำให้ท้องนากลายเป็นดินโคลน แล้วปล่อยน้ำส่วนเกินออกจากนาไปแล้วก็เข้าสู่กระบวนการหว่านข้าวต่อได้เลย

การตกกล้า

ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมต้นกล้าข้าวที่จะใช้ ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับขั้นตอนการเตรียมดิน เพราะหากตกกล้าได้ดี ต้นข้าวก็จะแข็งแรง เติบโตได้ไว ทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคแมลงต่างๆ ทั้งยังมีโอกาสสูงที่จะให้ผลผลิตดี การตกกล้าจะต้องเตรียมเม็ดพันธุ์เสียก่อน ดังนี้

- คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ เมล็ดพันธุ์ต้องเป็นแบบที่บริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคพืชหรือสารเคมี เพื่อเป็นการการันตีเปอร์เซ็นต์การงอก

- เตรียมความพร้อมให้เมล็ดพันธุ์ โดยนำเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือกแล้วมาแช่ในน้ำสะอาด เป็นเวลาประมาณ 12-24 ชั่วโมง ยิ่งมีเวลาแช่ได้นานเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะเมล็ดข้าวจะอ่อนนิ่มพร้อมจะแตกส่วนของราก เมื่อครบเวลาแล้วก็นำเมล็ดพันธุ์ไปพักไว้ในบริเวณที่น้ำไม่ขัง อากาศถ่ายเทได้ดี ใช้กระสอบป่านคลุมทับไว้เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมและรักษาระดับความชื้น


เมื่อทุกอย่างพร้อมดีแล้วก็จะเริ่มกระบวนการตกกล้า การตกกล้าที่ว่านี้ก็มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แล้วแต่ความเหมาะสมของลักษณะดินและเครื่องมือที่ใช้ แต่ที่ใช้กันมากก็จะมีอยู่เพียง 2 วิธีเท่านั้น ดังนี้

การตกกล้าในสภาพเปียกหรือการตกกล้าเทือก : วิธีนี้เป็นรูปแบบที่ทำกันมานานมากที่สุด การตกกล้าแบบนี้ในท้องนาจะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ข้อดีคือขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก โอกาสเสียหายด้วยโรคพืชและแมลงก็มีน้อยมาก


การตกกล้าแบบใช้กับเครื่องปักดำข้าว : จริงๆ แล้วแบบนี้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันไปตามยี่ห้อของเครื่องปักดำ แต่ส่วนใหญ่ก็จะทำให้ต้นข้าวเรียงเป็นแถวเป็นแนวดี ง่ายต่อการดูแลและเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า

การปักดำ

เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 30 วัน ก็จะแข็งแรงและโตเพียงพอที่จะเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่ได้แล้ว เริ่มจากถอนต้นกล้าออกมา ตัดใบส่วนที่สูงเกินไปทิ้งเสียแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ เอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้ายและสะดวกตอนที่แบ่งให้แต่ละคนเอาไปปักดำ ต้องสลัดพวกเศษดินโคลนที่ติดกับต้นกล้าข้าวออกไปด้วย

จากนั้นก็ลงมือปักดำได้ทันที โดยนาที่จะปักดำต้องอยู่ในสภาพที่มีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตรจากพื้นด่างล่าง มากหรือน้อยกว่านี้มีผลต่อการเติบโตของต้นข้าวทั้งสิ้น ถ้าต้นกล้าจมน้ำในระยะแรก พอโตมาต้นจะยืดยาวเกินไป แต่ถ้าน้ำน้อยไปต้นกล้าก็จะโดนลมพัดจนหักเสียหายได้ จากนี้ไปจนถึงวันเก็บเกี่ยวก็ดูแลใส่ปุ๋ยและคอยกำจัดศัตรูพืชตามความเหมาะสม

การเก็บเกี่ยว

เมื่อรู้ว่าดอกข้าวมีการผสมเกสรแล้ว ก็ให้นับต่อไปอีกประมาณ 4 อาทิตย์หลังจากนั้น ต้นข้าวก็จะพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยว สามารถทำด้วยการใช้เคียวแบบดั้งเดิมหรือจะใช้รถเกี่ยวข้าวก็ได้ ก่อนไปสู่กระบวนการนวดเพื่อเอาเมล็ดข้าวออกจากรวงข้าว ต่อด้วยตากข้าวให้แห้งก่อนนำออกจำหน่ายหรือเก็บรักษา


การบำรุง ใส่ปุ๋ย

แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อหน้าดิน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีจะต้องมีธาตุอาหารครบถ้วนจึงจะทำให้นาข้าวมีผลผลิตสูง

ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ถือเป็นปุ๋ยที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก ปุ๋ยไซโตมีคุณสมบัติและส่วนประกอบที่พืชต้องการครบถ้วน เพราะผลิตจากมูลค้างคาวที่ผ่านการตรวจสอบเรื่องธาตุอาหารที่ครบสมบูรณ์มากๆ ช่วยให้ข้าวแตกกอดี รวงโต เมล็ดไม่ลีบ น้ำหนักดี


ที่มา www.cyto.biz(ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยมูลค้างคาว #ปุ๋ยไซโต

bottom of page