top of page

มูลค้างคาวมีข้อดีที่น่าสนใจหลายประการ


มูลค้างคาวมีข้อดีที่น่าสนใจหลายประการคือ

มีปริมาณความเข้มขันของธาตุอาหารพืชสูงกว่าปุ๋ยชนิดอื่น ในบรรดาปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วไป และสูงทัดเทียมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ผลการใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวนอกจากจะให้ธาตุอาหารพืชที่พอเพียงแล้ว ยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินบางอย่างให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ดินร่วนไม่เกาะกันแน่นเมื่อแข็งตัว ความเป็นกรด — ด่าง ของดินอยู่ในระดับที่พอเหมาะกับความเจริญเติมโตของพืชการใช้มูลค้างคาวอยู่เสมอย่อมจะทำให้เชื้อแบคทีเรียในดินทำงานดีขึ้น เป็นประโยชน์แก่พืชทางอ้อมในการสลายตัวของอินทรีสาร เปลี่ยนเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่ายขึ้นปัญหาเรื่องการขุดธาตุอาหารใช้ปริมาณน้อยอื่น ๆ หมดไป ธาตุอาหารเสริมเหล่านี้ได้แก่ ธาตุแมกนีเซียมกำมะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน และโมลิบเดมั่น จะมีอยู่เพียงพอในปุ๋ยมูลค้างคาวการใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวสม่ำเสมอติดต่อกันย่อมจะทำให้มีผลตกค้างของปุ๋ยเหลือ สะสมอยู่ในดินและค่อย ๆ สลายเป็นอาหารพืชภายหลังได้อีกด้วยมูลค้างคาวเป็นมูลสัตว์ที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส เนื่องจากเป็นสัตว์กินแมลง เหมาะสำหรับใส่ไม้ผลที่ให้กลิ่นหมอ เช่น ทุเรียน ลิ้นจี่ กล้วยหมอ ลำไย มังคุด ละมุด ขนุน มะม่วง เป็นต้นมีการใช้มูลค้างคาวละลายน้ำ แล้วนำมัดต้นกล้าข้าวไปแช่ให้ท่วมรากก่อนนำไปปักดำเป็นวิธีที่ง่าย และสะดวก ในหารให้ปุ๋ยฟอสเฟตแก่ข้าว ในการทำนาใกล้ถ้ำ มูลค้างคาวโดยเฉพาะที่ภาคใต้อัตราการใช้มูลค้างคาว ควรใช้ให้น้อยกว่าปุ๋ยคอกหรือจะใช้วิธีผสมมูลค้างคาวร่วมกับปุ๋ยคอกอื่น ๆ และเศษซากพืชที่ผุพังเน่าเปื่อยแล้ว เพื่อลดความเข้มข้น ให้น้อยลงก่อนนำไปใช้


มีข้อดี หลายประการ กล่าวไว้ดังนี้

มีธาตุอาหารครบทั้ง 13 ชนิด ที่พืชต้องการจากทางดิน คือ ไนโตรเจน , ฟอสฟอรัส, โปแตสเซี่ยม , แคลเซี่ยม , แมกนีเซี่ยม , กำมะถัน , โบรอน ,เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , โมลิบดินั่ม ,ทองแดง และ คลอรีนให้ธาตุฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงมีบทบาทในการเร่งให้พืชติดดอกออกผลได้ดีขึ้น เหมาะเป็นพิเศษกับไม้ดอก และ สวนผลไม้การใช้มูลค้างคาวอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเประโยชน์ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการสลายตัวของอินทรีย์สาร ธาตุอาหารพืช ทีถูกดินยึดไว้ละลายกลับออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้งช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน กระตุ้นการแตกราก ทำให้ การดูดธาตุอาหาร และน้ำ จากดินเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการเจริญเติมโตต่อพืช จึงเหมาะกับพืชทุกชนิดเสริมสร้างผนังเซลล์ของพืช ทำให้ขั้วเหนียวบำรุงต้นให้เจริญเติมโต และช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย

ชนิดของปุ๋ย

ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก จากซากพืช ธาตุอาหารน้อย ใช้เวลานาน จากปุ๋ยคอก มูลสัตว์ ที่เลี้ยงด้วยสารเคมี คือสารเร่ง และหัวอาหาร จึงได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปนเปื้อนสารเคมี หรือเชื้อรา และต้องใช้ในปริมาณมาก

ปุ๋ยชีวภาพได้จาการหมัก พืชผัก ผลไม้ดิบ ผลไม้สุก กากถั่วเหลือง กากถั่วต่าง ๆ เศษเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ หรือปลาพืชสมุนไพรกลิ่นฉุน สมุนไพรรสขม กากน้ำตาล หรือน้ำตาล ทรายแดง หมักทิ้งไว้ 7- 8 วัน ใช้เวลามาก ขั้นตอนยุ่งยาก อาจปนเปื้อนเชื้อรา และมีระยะเวลาในการใช้ได้แค่ 3 เดือน

ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยยูเรียผลิตจากหิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ จาการสังเคราะห์ขึ้น เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟสบด หรือปุ๋ยเคมีสูตสรต่าง ๆ ที่ใช้กันโดยทั่วไป มีธาตุอาหารหลัก ที่จำเป็น อยู่ได้แค่ 10 วัน ปุ๋ยเคมีทำให้ดิน เสื่อม สภาพ เป็นกรด แน่น ทำลายสารอาหารบางตัว คงเหลือไว้เพียง ไนโตรเจน ทำให้พืชเขียว เพียงอย่างเดียว มีสารเคมีตกค้างในดิน ทำลายสภาพแวดล้อม ไม่มีคุณสมบัติ ในการปรับปรุง โครงสร้าง ของดินให้โปร่งและ ร่วนซุยได้ ไม่มี ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบ เหมือนปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยเม็ดอินทรีย์ทั่วไปผลิตจากมูลสัตว์ต่าง ๆ กากอ้อย กากผงชูรส กากถั่ว ผสมกับจุลินทรีย์ และแร่ธาตุต่าง ๆ หมักรวมกัน ข้อจำกัดของผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าปริมาณมาก คือ คุณภาพและระยะเวลาของการหมักวัตถุดิบ ยิ่งนานคุณภาพยิ่งแย่ลง เพราะหมักไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด และวัตถุดิบไม่เพียงพอ

มูลค้างคาวขี้คางคาวผลิตภัณท์ ขี้ค้างคาว มูลค้างคาว บริสุทธิ์ 100% ปราศจากแอมโมเนีย ไม่มีสารพิษตกค้าง จึงคงไว้ด้วยแต่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชที่จะเป็นต่อพืช สัมปทานอย่างถูกต้อง รับรองผลการตรวจพิสูจน์อย่างถูกต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ธาตุอาหารครบ ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม จุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ ป้องกันแมลง ปรับสภาพดินที่เสียด้วยปุ๋ยเคมี ให้กลับมาดีเหมือนเดิม เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน

ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)

bottom of page