top of page

ประโยชน์ของข่า และไอเดียการกินการใช้ข่าเพื่อสุขภาพ



ข่า เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่น่าสนใจไม่แพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ เพราะมีคุณสมบัติช่วยในเรื่องของการรักษาโรค มากมายไปด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย และยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทำให้รสชาติของอาหารมีความหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น เราไปทำความรู้จักสมุนไพรชนิดนี้เพิ่มเติมกันเลยดีกว่า


รู้จักสมุนไพรข่า

ข่าคือสมุนไพรและเป็นเครื่องเทศที่ถือว่าคนไทยเรานิยมนำมาใช้มากกว่าขิง เนื่องด้วยเหตุผลหลายอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องของการปลูก ข่าจะปลูกง่ายกว่าขิง และยังดูแลง่าย มีอายุยืนยาว ไม่มีการลงหัว แถมยังสามารถเอามากินและใช้ได้ตลอดปีอีกด้วย

สำหรับการนำข่ามาใช้ในการรักษาโรคนั้น เป็นเพราะข่าเป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดปร่า และมีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นที่หอมฉุน ซึ่งจุดนี้คนไทยเราจึงมักใช้ข่ามาเป็นยารักษาอาการป่วยในทุกระบบของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการนำข่ามาใช้ในการประกอบอาหารหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นต้มข่า ต้มยำ ต้มแซ่บ ก๋วยเตี๋ยว น้ำพริก รวมทั้งนำมาทำเป็นเครื่องแกงต่างๆ และที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ คนไทยเรานิยมนำหน่อข่าและดอกข่ามาทำเป็นผักแกล้มอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ในส่วนของข่า 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้

พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่, กากใยอาหาร 1.1 กรัม, แคลเซียม 5 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.15 กรัม, วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ในส่วนของข่า 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้

พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่, กากใยอาหาร 1.1 กรัม, แคลเซียม 5 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.15 กรัม, วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของข่า

ข่าก็เหมือนกับสมุนไพรทั่วไปที่มาพร้อมประโยชน์และสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายหลายอย่าง ซึ่งก็มีดังนี้

1.แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ

นำเหง้าข่าแก่สดที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต ตำให้ละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหาร วันละ 3 เวลา ก็ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และอาการจุกเสียดแน่นท้องได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันนั้นวิธีนี้ยังสามารถขับลมในลำไส้ แก้บิด ปวดมวนท้อง และลมป่วงได้อีกด้วย

2.รักษาโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับใครที่เผชิญกับโรคน้ำกัดเท้าและไม่รู้ว่าจะต้องรักษาด้วยวิธีไหนถึงจะดีและปลอดภัย แนะนำให้ใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเข้ากับเหล้าโรงพอท่วม หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้ชุบด้วยสำลีแล้วทาบริเวณที่เป็นน้ำกัดเท้าวันละ 3 รอบ จะช่วยให้โรคดังกล่าวหายไป

3.แก้ลมพิษ

นำเหง้าข่าแก่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียดแล้วนำเหล้าโรงมาผสมให้พอแฉะ นำส่วนผสมที่ได้ทั้งเนื้อและน้ำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ ทาบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดลมพิษตามผิวหนังไปพร้อมๆ กัน

4.รักษาอาการเท้าบวม

นอกจากข่าจะมีสรรพคุณทางยาช่วยลดอาการปวดตามข้อและปวดเมื่อยตามร่างกายแล้วนั้น ยังมีส่วนช่วยในการรักษาอาการเท้าบวมและเคล็ดขัดยอกได้อีกด้วย โดยนำข่ามาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่มีอาการปวดหรือบวม วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมากินหรือประคบเพื่อช่วยแก้อาการปวดต่างๆ พร้อมทั้งลดอาการอักเสบได้เป็นอย่างดี

5.แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

เนื่องจากข่ามีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคกลากเกลื้อน ผื่นคัน ลมพิษ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ให้เอาข่ามาฝนกับน้ำมะนาว นำไปทาตรงที่ถูกแมลงกัดต่อย จะช่วยแก้พิษได้ ทั้งนี้ควรระมัดระวังสำหรับผู้ที่แพ้ข่าด้วย หากรู้สึกมีอาการแสบร้อนตอนทาให้หยุดใช้ทันที เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียอื่นๆ ตามมานั่นเอง

6.ช่วยให้ระบบหลอดเลือดทำงานได้ดี

ข่าเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยในการทำงานของระบบหลอดเลือดให้สามารถทำงานได้ดี อีกทั้งยังช่วยขับเลือดสำหรับสตรีที่มีประจำเดือน และที่สำคัญยังช่วยขับเหงื่อได้ดี ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

7.บรรเทาอาการในระบบทางเดินหายใจ

เนื่องจากข่าเป็นสมุนไพรที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับแก้อาการหวัดในช่วงหน้าหนาว และที่สำคัญยังช่วยแก้อาการหอบหืดได้เป็นอย่างดี เพราะในสมัยโบราณนั้นได้มีการนิยมนำข่ามาต้มกินเพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก อีกหนึ่งวิธีคือนำเอาข่ามาฝน ผสมเข้ากับน้ำผึ้งแท้ น้ำมะนาวสด และเติมเกลือลงไปเพียงเล็กน้อย จากนั้นนำมากิน จะช่วยสกัดเสลด เสมหะ และยังช่วยขยายหลอดลม ให้สามารถหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งบรรเทาอาการหอบหืดได้อีกทาง

8.ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย

เนื่องจากข่าเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการช่วยขับลมในระบบย่อยอาหาร พร้อมทั้งช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อีกหนึ่งอาการที่สำคัญซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยข่าก็คือ อาการอาหารไม่ย่อย โดยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ด้วยการนำเหง้าข่าสดประมาณ 5 กรัม ต้มในน้ำสะอาดจนเดือดแล้วนำมาดื่ม วิธีนี้จะช่วยแก้อาการแน่นจุกเสียดจากอาการอาหารไม่ย่อยได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้ด้วย โดยควรใช้ข่าในปริมาณที่พอดีและไม่ควรใช้อย่างต่อเนื่องยาวนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้

ไอเดียการกินข่าเพื่อสุขภาพ

เมื่อไรก็ตามที่พูดถึงอาหารที่มี "ข่า" เป็นส่วนประกอบ แน่นอนเลยว่าสิ่งแรก ๆ ที่ทุกคนมักจะนึกถึงก็คือเมนู "ต้มข่าไก่" นั่นเอง และนอกเหนือจากต้มข่าไก่แล้ว จะนำข่ามาทำอะไรอีกได้บ้าง มาดูกันเลย

ต้มยำปลานอกจากต้มข่าแล้ว อีกเมนูที่มักจะเห็นข่าเป็นส่วนประกอบอยู่บ่อย ๆ ก็คือเมนูต้มยำนั่นเอง เนื่องจากข่า ถือเป็นเครื่องต้มยำ (ใบมะกรูด ตะไคร้ ข่า) ที่ขาดไม่ได้เลย วิธีทำก็แค่โขลกพริก กระเทียม และบุบเครื่องต้มยำไว้หยาบ ๆ เมื่อน้ำเดือดก็ใส่พริกและเครื่องต้มยำลงไปก่อน หลังจากนั้นก็ใส่ปลาลงไป (เนื้อสัตว์อื่น ๆ ก็ใส่ในขั้นตอนนี้เช่นกัน) รอจนเนื้อปลาสุก แล้วค่อยปรุงรสตามชอบ โรยด้วยผักซอย ยกเสิร์ฟได้ทันที

มาม่าต้มยำแห้งเป็นเมนูที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ ด้วยรสชาติที่จัดจ้านของเครื่องต้มยำ และเนื้อสัตว์ที่คลุกเคล้าจนเข้ากันดี ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องเยอะไปสักหน่อยก็ตาม สำหรับเมนูนี้ประกอบไปด้วย มาม่า เครื่องต้มยำ (ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด) ผักชีฝรั่ง เครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น พริก มะนาว น้ำปลา และเนื้อสัตว์ตามที่ต้องการ ส่วนวิธีทำก็เริ่มจากการต้มเส้นมาม่าให้นิ่มก่อน แล้วสะเด็ดขึ้นมาจากน้ำรอไว้ ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันแล้วเอาเนื้อสัตว์ลงไปผัดให้พอสุก ใส่เส้นมาม่าลงไป แล้วเติมด้วยเครื่องต้มยำและเครื่องปรุงต่าง ๆ ชิมรสให้ออกเปรี้ยวนำ เผ็ดตาม ตักใส่จาน โรยด้วยผักชีฝรั่งและไข่ออนเซ็นสักลูก ก็ได้เมนูสุดฟินแล้ว

กุ้งอบวุ้นเส้นต้มยำกุ้งอบวุ้นเส้นธรรมดาที่มีรสชาติออกเค็ม ๆ อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกเบื่อ ลองเปลี่ยนเป็นกุ้งอบวุ้นเส้นต้มยำกันดูบ้าง ด้วยการใส่เครื่องต้มยำลงไปในซอส แล้วเติมพริกเผาลงไปสักหน่อย ชิมให้รสชาติจัดจ้านกว่าปกติสักนิด เพื่อที่เวลาเอาวุ้นเส้นมาอบ จะได้เข้าเนื้อมากยิ่งขึ้น และยังทำให้รสชาติเข้มข้นอยู่เหมือนเดิม

หอยแมลงภู่อบหม้อดินต้มยำเป็นอีกเมนูที่สามารถเพิ่มความจัดจ้านให้กับหอยแมลงภู่ตัวใหญ่ ๆ ได้เช่นกัน วิธีที่ทำก็เหมือนทำหอยแมลงภู่อบหม้อดินตามปกติ แต่เปลี่ยนขั้นตอนเล็กน้อย คือในการตั้งน้ำเดือดสำหรับนึ่งหอยนั้น ให้ใส่เครื่องต้มยำลงไป เมื่อนำหอยมานึ่งแล้ว ก็ให้เอาเครื่องต้มยำ และข่าโรยไว้บนหอยอีกครั้ง เพื่อให้กลิ่นหอมซึมเข้าไปในตัวหอยเพิ่มมากขึ้น ก่อนจะจัดใส่จาน ให้เขย่าหอยให้เข้ากันกันดีกับเครื่องต้มยำอีกครั้ง ทานคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ด


ไอเดียการใช้ข่าเพื่อสุขภาพ

ข่า สามารถนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคได้หลายประเภท รวมถึงใช้ได้หลายวิธี ทั้งกิน ทั้งทา มาดูกันเลยว่ามีโรคอะไรบ้าง ที่ข่าสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องไปพบแพทย์

รักษาอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการเมารถใช้เหง้าสดของข่าแก่ที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตรขึ้นไป เอามาทุบหรือตำจนละเอียด เติมน้ำปูนใสลงไปให้ได้ประมาณ 1 ครึ่งแก้ว ทาน เช้า กลางวัน และเย็น หรือจนกว่าจะหาย สูตรนี้สามารถใช้สำหรับขับลม รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ด้วยเช่นกัน

ขับน้ำคาวปลา สำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดลูกนอกจากขับน้ำคาวปลาแล้ว ยังสามารถขับเลือด และขับรกที่ตกค้างอยู่ภายในได้อีกด้วย เพียงแค่นำเหง้าข่าสด มาตำให้ละเอียดผสมกับมะขาม และเกลือ

รักษาโรคผิวหนัง (กลาก เกลื้อน)นำเหง้าข่าแก่มาตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงลงไปผสมให้เข้ากันดี เอามาทาให้ทั่วบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน กรณีที่จะใช้รักษาอาการแพ้ หรือผื่นคันจากลมพิษ ให้ตำผสมกันทิ้งไว้ 1-2 คืน แล้วนำมาทาเช้า-เย็น

รักษาอาการปวดเมื่อยข่า สามารถนำมาใช้รักษาและบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ โดยการนำต้นข่าแก่ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวให้เข้ากันดี แล้วนำไปทาหรือนวดบริเวณที่ปวดวันละ 1 ครั้ง รับรองว่าอาการปวดเมื่อย จะค่อยๆทุเลาลงและหายไปอย่างแน่นอน

ไล่ยุงและแมลงอื่นๆข่า สามารถนำมาใช้ไล่ยุงและแมลงได้ด้วย เพียงแค่ทุบเหง้าข่าให้แหลก หรือให้มีน้ำมันในข่าซึมออกมา นำไปวางในที่ต้องการ ก็จะช่วยไล่ยุงและแมลงไม่ให้มากวนใจ ง่ายๆ แบบนี้ลองทำตามกันดู รับรองว่าได้ผลลัพธ์โดนใจสุดๆ

ข่า ยังมีสรรพคุณดี ๆ อีกมากมาย ดังจะเห็นได้จากการนำไปแปรรูปเป็นแชมพู ครีมนวด สเปรย์ ลูกประคบ นอกจากนี้ ข่ายังช่วยดับกลิ่นกายได้เช่นกันเพียงนำข่ามาต้มแล้วกรองเอาน้ำมาผสมอาบ ส่วนใครที่ชอบวิธีการรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพรดังกล่าว ต้องไม่พลาดที่จะซื้อข่าติดบ้านไว้ เพราะถึงไม่ได้ใช้ ก็ยังนำมาประกอบอาหารอร่อย ๆ ได้หลายเมนูแน่นอน รับรองว่าคุ้ม !

ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยมูลค้างคาว #ปุ๋ยไซโต


bottom of page