top of page

ดูแลทุเรียนเล็กให้รอดช่วงหน้าแล้ง…ทำได้อย่างไร


ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แหล่งปลูกสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนืออย่างอุตรดิตถ์ ระยะหลังมีปลูกได้ผลที่อิสาน จังหวัดศรีสะเกษ

ปัจจุบันพบว่า ทุเรียนมีปลูกได้ผลหลายจังหวัด มากบ้างน้อยบ้าง

มีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนไม่น้อย ที่ต้นตายลงก่อนให้ผลผลิต โดยเฉพาะช่วงปลูกใหม่ 1-3 ปี ทำให้ต้องเสียเงินซื้อต้นพันธุ์หลายครั้ง สาเหตุการตายของทุเรียนต้นเล็ก นอกจากโรคและแมลงเข้าทำลายแล้ว ส่วนใหญ่เกิดจากความชื้นในช่วงแล้งไม่เพียงพอ

ดังนั้นเมื่อฝนหยุดตกไม่เกิน 1 เดือน เจ้าของควรตัดหญ้าคลุมโคนต้นให้ หรืออาจจะใช้ฟางข้าวคลุมก็ได้ จากนั้นรดน้ำ 3 วันครั้งหนึ่ง ระบบน้ำที่ให้อาจจะเป็นน้ำหยดหรือสปริงเกลอร์ก็ได้

ถ้าเป็นช่วงเดือนเมษายนที่อากาศร้อนจัด เกษตรกรบางรายถึงกับให้น้ำวันเว้นวัน เพื่อรักษาความชื้นในดิน

เรื่องของปุ๋ย นอกจากปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักแล้ว เกษตรกรหลายท่านและถือว่าเป็นจำนวนมากที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ซึ่งปรากฎว่าได้ผลดีจริงๆ เพราะปุ๋ยไซโตผลิตจากมูลค้างคาว จึงมีส่วนช่วยโดนตรงในการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืชและดูแลทั้งระบบราก ใบ ผล ผลไม้ ผลโต รดชาดดี ด้วยส่วนประกอบของมูลค้างคาวสูงถึง 50% ทำให้ไม้ผลมีรสชาดหวานมาก สามารถทำนอกฤดูได้

ทุเรียนปลูกได้ในหลายพื้นที่ เพียงแต่ต้องมีน้ำให้ และดูแลเอาใจใส่ตอนเล็กๆ

ดูแล้วเหมือนยุ่งยาก แต่หากเอาใจใส่ ถือว่าคุ้ม ไม่ต้องลงทุนซื้อต้นใหม่

ไม้ผลอื่นๆ ในหน้าแล้ง หากคลุมโคลน รดน้ำให้ก็จะเจริญเติบโตเร็วอย่างเห็นได้ชัด เกษตรกรที่ไม่มีระบบน้ำ การคลุมโคนก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยไซโต #ปุ๋ยมูลค้างคาว

www.cyto.biz

bottom of page