top of page

การใส่ปุ๋ยยางพาราในหน้าฝน

อัปเดตเมื่อ 11 ก.พ. 2562


การใส่ปุ๋ยยางพาราในหน้าฝน


การใส่ปุ๋ยยางพารา ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นที่แต่เดิมนิยมปลูกกันมากในภาคใต้ แต่เดี๋ยวนี้ก็ขยายวงกว้างไปสู่ภาคอื่นๆ บ้างแล้ว ต้นยางพารานี้มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิล จึงมีคุณสมบัติพื้นฐานชอบความชื้นสูง

แต่ก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่อมาให้สามารถอยู่ในสภาพอากาศที่หลากหลายขึ้นได้ ยางแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป ชาวสวนที่คิดจะปลูกยางจึงต้องเลือกสายพันธุ์ยางตามปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

ดินและสภาพภูมิประเทศ : ดินแต่ละชนิดมีสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันไป ต้นยางบางพันธุ์ต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์มาก หากลงปลูกในที่ซึ่งขาดแคลนอาหาร ผลผลิตที่ได้ก็จะไม่คุ้มกับเวลาในการปลูก

แรงลม : ลำต้นของยางพาราเป็นลักษณะสูงชะลูด ตั้งตรงพุ่งขึ้นด้านบน ไม่ได้แตกกิ่งก้านแผ่ออกด้านข้างมากนัก แรงลมจึงมีผลต่อการฉีกขาดของลำต้น ในพื้นที่ซึ่งมีลมแรงมากจึงต้องเลือกพันธุ์ที่ทนแรงลมได้ดีสักหน่อย


ประโยชน์ที่ได้จากต้นยางพาราก็คือน้ำยาง ซึ่งสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตสิ่งของได้หลายหลาย เช่น ยางรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ฟองน้ำ สายพาลลำเลียง เป็นต้น ดังนั้นน้ำยางหรือแผ่นยางพาราจึงมีราคาดี เชิญชวนให้ใครหลายคนเข้าสู่วงการยางพาราไปกับเขาด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าแค่ปลูกยางก็จะรับทรัพย์เป็นกอบเป็นกำเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่ารู้จักต้นยางดีแค่ไหนและดูแลอย่างถูกต้องเพียงพอหรือไม่ต่างหาก


จุดที่ชาวสวนยางมือใหม่มักจะเสียหายมากที่สุดก็คือช่วงหน้าฝน เพราะฤดูนี้มีโรคที่มาพร้อมฝนค่อนข้างเยอะ ถ้าเมื่อไรที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน เชื้อราจะเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงกับต้นยาง ยิ่งถ้าเป็นจังหวะที่มีการกรีดยางด้วยแล้ว ต้นยางก็ยิ่งติดโรคได้ง่ายเข้าไปอีก

เพราะการกรีดยางเป็นเหมือนการเปิดปากแผลให้เชื้อโรคเข้าไปนั่นเอง โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนก็คือ โรคใบร่วง โรคเปลือกเน่า โรคเส้นดำ เป็นต้น ถึงอย่างไรเราก็ไม่สามารถไปควบคุมดินฟ้าอากาศได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดจึงเป็นการงดกรีดยางในช่วงที่จะมีฝนตกหนัก และทาผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาหน้ายางเป็นประจำ ถ้าต้นไหนอาการหนักเกินเยียวยาก็ให้รีบโค่นทิ้งเพื่อกำจัดแหล่งเพาะเชื้อออกไป

นอกจากการป้องกันโรคเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงหน้าฝนแล้ว สิ่งที่ควรทำด้วยเช่นเดียวกันก็คือการใส่ปุ๋ย เพราะน้ำฝนจะช่วยในการละลายและดูดซึมปุ๋ยของต้นยาง การใส่ปุ๋ยช่วงนี้จึงได้ผลเต็มประสิทธิภาพและเห็นผลได้ไว หัวใจสำคัญของการใส่ปุ๋ยอย่างแรกก็คือต้องเลือกสูตรหรือชนิดของปุ๋ยให้เหมาะสมกับช่วงวัยของต้นยาง โดยแบ่งหลักๆ ได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

ปุ๋ย 20-8-20 และปุ๋ย 20-10-12 เป็นปุ๋ยที่ใช้สำหรับต้นยางที่ยังไม่ได้เปิดกรีด จะใช้สูตรไหนขึ้นอยู่กับว่าเพาะปลูกสวนยางในภาคใดของประเทศ (เพิ่มเติมเรื่องปุ๋ยได้ที่ www.cyto.biz)

ปุ๋ย 30-5-18 ใช้สำหรับการใส่ให้ต้นยางที่เปิดกรีดแล้วเรียบร้อย อัตราการใช้อยู่ที่ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แต่ให้แบ่งใส่เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงต้นและช่วงปลายฤดูฝน คราวละ 0.5 กิโลกรัม

เมื่อเลือกใช้สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมแล้ว ก็ต้องมีวิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อต้นยางอย่างครบถ้วน ไม่สูญหายไปทางไหน หลักการขั้นพื้นฐานของการใส่ปุ๋ยก็คือ ต้องรู้จักว่าต้นพืชแต่ละช่วงวัยนั้นจะขยายแนวรากออกไปอย่างไร และปลายรากจะอยู่ ห่างจากลำต้นเท่าไร ต้นยางพาราก็เช่นเดียวกัน การรู้อายุของต้นยางจึงสำคัญมากกับการใส่ปุ๋ย

– ถ้าต้นยางยังเป็นเพียงต้นกล้า หรือเป็นต้นที่มีขนาดเล็กอยู่ ก็แค่ใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นวงกลมรอบลำต้นได้เลย

– ถ้าต้นยางมีอายุ 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะต้องเปลี่ยนการโรยวนรอบต้นเป็นการหว่านให้ปุ๋ยกระจายเป็นแถวยาวระหว่างแถวของต้นยางแทน และต้องมีระยะห่างจากโคนต้นราวๆ 1 เมตร

– ถ้าต้นยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไป ก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบการให้ปุ๋ยอีก เป็นการหว่านให้เป็นแถบกว้าง โดยขอบในสุดห่างจากต้นยาง 50 เซนติเมตร และขอบนอกสุดของแถบปุ๋ยต้องอยู่ห่างจากต้นยาง 3 เมตร

– ถ้าต้นยางมีการเปิดกรีดไปแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยด้วยการหว่านทั่วแปลงและห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตรเสมอ

สำหรับชาวสวนหลายคนที่ทำสวนยางหลายสิบไร่ อาจจะเริ่มเกิดคำถามแล้วว่า ถ้าให้ปุ๋ยไปเลยโดยไม่ต้องละเอียดขนาดนี้ได้ไหม เพราะพื้นที่มีมากเหลือเกิน หากทำตามนี้ทั้งหมดคงกินเวลานานน่าดู ยิ่งถ้าต้องจ้างแรงงานมาช่วย ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก แบบนี้ตอบเลยทันทีว่าได้เหมือนกัน

แต่ต้นยางจะดูดซึมปุ๋ยได้ยากหรือช้ากว่าที่ควรจะเป็น ดีไม่ดีรากจะวนกลับมาดูดปุ๋ยที่โคนต้น ทำให้มีการเดินรากแบบผิดปกติที่ใต้ดิน ต้นยางจึงไม่แข็งแรงและโค่นล้มได้ง่าย สุดท้ายนี้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวจะทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว ควรหมั่นปรับปรุงดินอยู่เป็นระยะด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น


และที่สำคัญมากๆต้นยางพาราจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่สามารถให้ธาตุอาหารครบถ้วนด้วย ซึ่งปุ๋ยไซโตเราพิเศษกว่าใคร เพราะเรามีสูตรผสมที่เข้มข้นมากขึ้น เช่น สารครีเล็ต เมื่อทำงานประสานร่วมกับฮอร์โมนไซโตไคนิน ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ของการใช้ปุ๋ยอย่างแท้จริงและผลิตจากมูลค้างคาวที่ได้คุณภาพ โดยสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้ถึง 50% เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 40% ด้วยประสิทธิภาพที่ดีมากๆของปุ๋ยไซโต จึงทำให้ยอดการสั่งปุ๋ยไซโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปุ๋ยไซโตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว คุณภาพสูง


ที่มา www.cyto.biz(ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยมูลค้างคาว #ปุ๋ยไซโต

bottom of page