การปลูกซ่อม ควรทำการปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด หลังจากการปลูกลงแปลงจริง เพื่อป้องกันปัญหา ควรสำรองต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง สำหรับการปลูกทดแทนต้นที่ตาย โรคแมลงทำลายหรือต้นที่มีลักษณะผิดปกติ ภายหลังการปลูกโดยดูแลรักษาต้นกล้าไว้ในถุงพลาสติกสีดำขนาด 18 x 24 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 14 x 20 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดทัดเทียมกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง
การปลูกซ่อมแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ปลูกซ่อมหลังจากปลูกในแปลงประมาณ 1 ? 2 เดือน เป็นการปลูกซ่อมเนื่องจากการกระทบกระเทือนตอนขนย้ายปลูกหรือเกิดจากความแห้งแล้งหลังปลูกอย่างรุนแรง ปลูกซ่อมหลังจากการขนย้ายปลูก 6 ? 8 เดือน ไม่ควรเกิน 1 ปี เป็นการปลูกซ่อมต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นมีลักษณะทรงสูง โตเร็ว ผิดปกติ ซึ่งลักษณะของต้นตัวผู้
การใส่ปุ๋ย เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารและน้ำในปริมาณมากเพื่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น ใบ และผลผลิต การจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายของเกษตรกร คือ กำไรสูงสุด การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ชนิดของปุ๋ย อัตราการใส่ปุ๋ย และราคาปุ๋ย สำหรับอาการขาดธาตุอาหาร ที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งสำหรับการใส่ปุ๋ย
อัตราการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน แต่มีหลักสำคัญ คือ 1. ใส่ในช่างที่ปาล์มน้ำมันต้องการ 2. ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนักในปีแรกหลังจากการปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50 : 25 : 25 ใส่ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน เมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60 : 40 ใส่ต้นฝนและปลายฝน ตามลำดับ ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม กันยายน ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม พฤศจิกายน
การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช รวมถึงการชะล้างพังทะลายของดินช่วยปรับโครงสร้างของดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน เกษตรกรนิยมปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันมาก เพราะไม่ต้องใช้แรงงาน และเวลาในการดูแลรักษาพืชคลุมดินมากเหมือนการปลูกพืชแซม แต่ถ้าขาดการดูแลรักษาที่ดีก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน พืชตระกูลถั่วที่ปลูกเป็นพืชคลุมในสวนปาล์ม ควรใช้อัตราส่วนประมาณ 1 กิโลกรัม/ไร่ ดังนี้ – ถั่วคาโลโปโกเนียม : ถั่วเพอราเรีย : ถั่วเซนโตรซีมา อัตรา 1:1:1 – ถั่วเพอราเรีย : ถั่วเซนโตรซีมา อัตรา 2:3
การใช้ทะลายเปล่าคลุมดิน ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุเหลือที่มีปริมาณมาก และมีธาตุอาหารที่มีประโยชน์สามารถใช้เป็นปุ๋ยหรือตัวปรับสภาพดินได้โดยใช้ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุคลุมดิน เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน ช่วยลดการสูญเสียความชื้นจากหน้าดินและใช้เป็นสารอาหารแก่พืช แต่ประโยชน์จะไดรับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดของดิน และสภาวะของความชื้นสัมพัทธ์ของบริเวณนั้นด้วย สามารถใช้ทะลายเปล่าที่นำมาจากโรงงานโดยนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายรอบโคนต้น ในอัตรา 150-225 กิโลกรัม/ต้น/ปี รวมกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 2-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี ร็อคฟอสเฟต 0.7 กิโลกรัม/ต้น/ปี และโพแทสเซียมคลอไรด์ 1.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี
การให้น้ำ? ในสภาพพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1,800 มิลลิเมตร/ปี และมีฤดูแล้งยาวนาน 3-5 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเงินทุนด้วย สำหรับการติดตั้งระบบน้ำควรพิจารณาดังนี้ – พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด (Drip Irrigation) – พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบโปรยน้ำ (Mini Sprinkler)
ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมัน ต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ธาตุเหมือนกับพืชชนิดอื่น ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะความต้องการของปาล์มน้ำมัน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ต้องการใช้ในปริมาณมาก หรือค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโบรอน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ปาล์มน้ำมันไม่ต้องการมากนัก และมักไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารในดิน ทั่ว ๆ ไป ได้แก่ แคลเซียม กำมะถัน คลอรีน ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม สังกะสี และเหล็ก อย่างไรก็ตามปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารในกลุ่มที่ 1 มากที่สุด ธาตุอาหารทั้ง 5 นี้มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีอิทธิพลต่อขบวนการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มในขั้นสุดท้าย
ไนโตรเจน ไนโตรเจนมีผลต่อพื้นที่ใบ สีของใบ อัตราการเกิดใบใหม่ และการดูดซึมธาตุอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ไนโตรเจนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 6 ปี อาการขาดไนโตรเจน มักพบในต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในดินทรายตื้น ๆ หรือดินที่มีการระบายน้ำเร็ว แก้ไขได้โดยการระบายน้ำก่อนแล้วจึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตาม และพบในพื้นที่ที่มีหญ้าคาปกคลุมหนาแน่นบริเวณรากของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากไปลดการตรึงไนโตรเจนของปาล์มน้ำมัน อัตราการใส่ไนโตรเจน ในแต่ละท้องถิ่นขึ้นอยู่กับ อายุ และศักยภาพการให้ผลผลิต และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ชนิดของดินและสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปแนะนำให้ใส่ไนโตรเจนในอัตรา 1.5-8.0 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีในรูปของแอมโมเนียมซัลเฟต
ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต ปุ๋ยที่เหมาะกับปาล์มน้ำมัน ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการครบ
- ปาล์มน้ำมัน นวัตกรรมฮอร์โมนไซโตไคนิน แก้ปัญหาปาล์มลูกลีบ ไม่ติดลูก กระตุ้นการติดตาดอกทำให้ติดลูกตลอดปี
Comments