top of page

ระวังช่วงนี้ “โรคผลเน่า”ในทุเรียนช่วงระยะเก็บเกี่ยวระบาด


สภาพอากาศแปรปรวนมีฝนตกร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนช่วงนี้แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของโรคผลเน่า สามารถพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน และมักพบโรคในช่วง 1 เดือนก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน หรือในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนแล้วอาจพบโรคผลเน่าในระหว่างการบ่มผลทุเรียนให้สุก มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายชนิด ที่สำคัญที่สุด คือ โรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอปธอร่า (Phytophthora Fruit rot) สาเหตุเชื้อรา Phytophthora palmivora


ลักษณะอาการ

โรคนี้จะพบพบอาการได้ตั้งแต่ผลที่ยังอยู่บนต้น ซึ่งถ้าอาการรุนแรงมากผลจะเน่าร่วงหล่นก่อนกำหนด แต่ส่วนใหญ่มักพบในผลช่วง 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และระหว่างการบ่มผลให้สุก โดยอาการเริ่มแรกจะพบเปลือกผลทุเรียนเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำ ต่อมาจุดแผลจะลุกลามขยายใหญ่มากขึ้นตามการสุกของผลทุเรียน กรณีที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคบริเวณแผล ซึ่งสามารถพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลทุเรียนที่ยังอยู่บนต้น ถ้าอาการรุนแรงมาก ผลทุเรียนจะเน่าและร่วงหล่นก่อนกำหนด ผลทุเรียนที่เกิดการติดเชื้อจะลุกลามเข้าตามไส้เมื่อสุก ทำให้เนื้อทุเรียนเสีย มีรสเปรี้ยว เชื้อราอาจเข้าลึกถึงเมล็ด


สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคผลเน่า เกษตรกรควรหมั่นตรวจผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ให้เกษตรกรตัดผลทุเรียนที่เป็นโรคและเก็บผลทุเรียนเน่าที่ร่วงหล่นใต้ต้นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง หลีกเลี่ยงการนำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง อีกทั้งโรคผลเน่าจะมีเชื้อสาเหตุโรคชนิดเดียวกับโรครากเน่าและโคนเน่า เกษตรกรควรทำการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าไปพร้อมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดโรคได้ผลดียิ่งขึ้น

ส่วนแปลงปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผลเน่าสูง สืบเนื่องมาจากในแปลงมีต้นที่เป็นโรครากเน่าและโคนเน่ามาก รวมถึงมีฝนตกชุกหรือมีความชื้นในอากาศสูงในช่วงที่ทุเรียนใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต อาจส่งผลให้เชื้อสาเหตุโรคติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการของโรค ดังนั้น การเก็บเกี่ยวผลทุเรียนต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับพื้นดินโดยตรง ให้เกษตรกรปูพื้นดินด้วยวัสดุหรือกระสอบที่สะอาดเพื่อวางผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวแล้ว วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับพื้นดินที่มีเชื้อสาเหตุโรคได้ และให้ระมัดระวังการขนย้ายไม่ให้เกิดบาดแผลขึ้นกับผลทุเรียน


หากพบการระบาดของโรคผลเน่า ให้เกษตรกร มีแนวทางป้องกันดังนี้

วิธีที่ผสมน้ำฉีดพ่น ใช้ ฮอร์โมนธรรมชาติหรืออาหารเสริมทางใบของ ปุ๋ยไซโต

- ปริมาณ 5 cc./ น้ำ 1 ลิตร

- หรือ 100 cc. / น้ำ 20 ลิตร

   ฉีดพ่นทุก 7-15 วัน

ใช้ร่วมกับปุ๋ยเม็ดทางดินหรือใช้เดี่ยวเฉพาะอาหารพืชทางใบก็ได้



ดังนั้น หากแปลงที่เคยเป็นโรครากเน่า และโค่นเน่ามาแล้ว การเก็บเกี่ยวผลต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับดิน ให้ปูพื้นดินที่จะวางผลด้วยวัสดุหรือกระสอบที่สะอาด เพื่อลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับดิน และการขนย้ายควรระมัดระวังบาดแผลที่จะเกิดขึ้นกับผลด้วย  ก็ต้องระวังด้วย โดยเพาะช่วงนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญปัจจุบันทุเรียนราคาดีด้วย หากประมาทเกิดโรคผลเน่าแล้วจะสร้างความเสียหายอย่างน่าเสียดายค่ะ


ที่มา www.cyto.biz

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยมูลค้างคาว #ปุ๋ยไซโต

Comments


bottom of page