การผลิตชมพู่คุณภาพดี คุณสม ศักดิ์ เครือวัลย์ เกษตรสำนึกรักบ้านเกิดจังหวัดระยอง ได้ให้คำแนะนำผ่าน รายการร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครราชสีมา เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตชมพู่ให้ได้ผล ผลิตดี ควรเริ่มต้นจาก 1. การปลิดผล เพื่อคุณภาพของผลผลิต วิธีการแก้ปัญหาของผลชมพู่ ที่ชอบร่วงก่อนถึงอายุที่จะเก็บผลผลิต ซึ่งสาเหตุมาจากการที่เราปล่อยให้ผลชมพู่ออกมามากเกินไป ไม่มีการปลิดทิ้ง จึงเกิดปัญหาต้นจะทิ้งผลไปเอง วิธีแก้ก็คือเมื่อชมพู่เริ่มออกดอกและมีผลเล็กๆประมาณหัวหิ้วโป้ง ก็ให้ทำการปลิดทิ้งให้เหลือกิ่งเพียง2-3 ผล และให้ห่างกันแต่ละผล 30 เซนติเมตร และทำการฉีดพ่นสมุนไพร ก่อนทำการห่อผลต่อไป
2. การป้องกันแมลงและการห่อผล
การใช้สมุนไพรสำหรับฉีดพ่นก่อนทำการห่อ
1.ให้หาสมุนไพรที่มีรสฝาด เช่น สเม็ด,มหาด,นนทรีย์ เป็นต้น รวมจำนวน 30 กิโลกรัม 2.หัวเชื้อ 1 ลิตร 3.กากน้ำตาล 1 ลิตร 4.น้ำ 10 ลิตร
นำมาหมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน แล้วนำมาฉีดพ่นก่อนห่อผลจะช่วยป้องกันแมลง อัตราการใช้น้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 300 ลิตร หรือ 500 ลิตร ตามสัดส่วน
ชมพู่ทับทิมจันทร์ กับเทคนิคง่ายๆ เพิ่มความหวาน ลดสารเคมี ชมพู่ทับทิม จันทร์ ผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ในขณะนี้ ผู้บริโภค ส่วนใหญ่ยังคงคิดว่าชมพู่เป็นไม้ผลอันตรายต่อการบริโภคสูง เนื่องจากเป็นผล ไม้ที่มีโรคแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ในการเพาะปลูกจึงมีการใช้สารเคมีสูง ทำให้ มีสารพิษตกค้างอยู่ในผลชมพู่ แค่ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลชนิดนี้ได้ให้ ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
คุณสมมาตร บุญยฤทธิ์ ที่ทีมงานมีโอกาสได้ไปเยี่ยใชมสวนชมพู่ทับทิมจันทร์เป็นอีกท่านหนึ่งที่ให้ ความสำคัญในเรือ่งนี้ไม่น้อย ลองตามพวกเราไปดูกันนะครับว่าการผลิตชมพู่ทับทิมจันทร์ออกสู่ตลาด โดยปราศจากสารพิษตอค้างที่สวนชมพู่ของคุณ สมมาตร บุญยฤทธิ์ เกษตรกรแห่งเมืองชากังราว เขาทำกันอย่างไรและมีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจบ้าง
จากพนักงานบริษัทมาเป็นชาวสวน : คุณ สมมาตร บุยยฤทธิ์ หมอดินอาสาจังหวัดกำแพงเพชร วัย 41 ปี เกษตรกรหมู่ 8 ตำบล มหาชัย อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ผันชีวิตจากพนักงานบริษัทมาปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนจังหวัดนนทบุรี ทำงานเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในช่วงที่ทำงานอยู่นั้นได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นและได้มองเห็น เกษตรกรที่ญี่ปุ่นมีแต่คนรวๆ จึงคิดที่จะลาออก มาทำการเกษตรอย่างที่ตั้งใจไว้ ที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นบ้านเกิดภรรยา ด้วยความที่ไม่เคยที่มีความรู้ทางด้านการเกษตรมาก่อนจึงได้เริ่มมีการศึกษา ความรู้จากนิตยสารการเกษตรและสื่อต่างๆ รวมทั้งได้มีการไปศึกษา อบรม และ ดูงานตามที่ต่างๆ ตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ เมื่อมั่นใจว่าตนเองมีความรู้พอสมควรแล้วจึงเริ่มลงมือทำ โดยเริ่มจากการปลูกไม้ผลเกือบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ลำไย มะพร้าว ฝรั่ง ลิ้นจี่ และ ชมพู่ ที่เป็นรายได้หลักของสวนอยู่ตอนนี้”
สวนคุณสมมาตรมีพื้ที่ทั้งหมด 29 ไร่ 3 งาน ซึ่งจะประกอบด้วยนาข้าว บ่อเลี้ยงปลา ไม้ผลต่างๆ อาทิ ลำไย มะม่วง มะพร้าว กระท้อน ลิ้นจี่ และ ชมพู่ ทำให้คุณสมมาตรมีรายได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันที่วนของคุณสมมาตรถูกยอให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร แระจำตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร
ชมพู่ทับทิมจันทร์ : เป็นพันธุ์ที่มีต้น กำเนิดอยู่ที่ปรเทศอินโนนีเซีย เป็นชมพู่ที่มีสีแดงเข้ม ทรงผลยาว พันธุ์ทับทิมจันทร์ มีลักษณะทรงผลโต เนื้อแน่น กรอบ และ มีความหวานสูงถึง 14 องศาบริกซ์
ที่มาของสายพันธุ์ : คุณสมมาตรได้ซื้อกิ่งพันธ์มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มา 1 ต้น ในราคาต้นละ 390 บาท และ ซื้อพันธุ์เพชรน้ำผึ้งมา 2 ต้น ในราคาต้นละ 150 บาท ในตอนแรก ได้ขยายพันธุ์เพชรน้ำผึ้ง กว่า 300 ต้นแต่ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะในตอนนั้นพันธุ์ทับทิมจันทร์กำลังเป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ผลใหญ่ จึงทำการนำชมพู่ทับทิมจันทร์ ที่ซื้อมาปลูกไว้เพียงต้นเดียวมาต่อยอดพันธุ์เพชรน้ำผึ้งที่ปลูกไว้ทั้งหมด และได้กลายมาเป็นชมพู่ทับทิมจันทร์ จำนวนกว่า 400 ต้นในสวนปัจจุบัน สำหรับไม้ผลชนิดนี้นั้นคุณสมมาตรได้มีการปลูกมาแล้วกว่า 15 สายพันธุ์ แต่สุดท้ายก็ต้องมาหยุดอยู่ที่ชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ เพราะมีรสชาติหวาน อร่อย ราคาสูง และที่สำคัญ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย
เคล็ดลับการปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ : การปลูกชมพู่ของ คุณสมมาตรจะเหมือนกับการปลูกชมพู่ทั่วๆ ไป โดยคุณสมมาคตรจะรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหินฟอสเฟส และ น้ำหมักที่ทำขึ้นเองผสมกัน คุณสมมาตรบอกว่า หินฟอสเฟสเมือ่นำไปผสมกับน้ำหมักจะเกิดปฏิกิริยาชนิดหนึ่งที่จะช่วยทำให้ต้น ชมพู่แตกรากได้ดั แข็งแรง และ โตเร็ว ปลุกเพียง 8 เดือน ต้นชมพู่ก็จะเริ่มออกดอก และ อีก 3 เดือน ต่อมาก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ซึ่งได้ผลดีกว่าการปลูกทั่วๆ ไป เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว
เทคนิคการป้องกันแมลงศัตรูพืชในสวนชมพู่ของคุณสมมาตร : การ ห่อผลชมพู่ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถป้องกันศัตรูของชมพู่ได้เป็นอย่าง ดี แต่การห่อชมพู่จะต้องนำถุงมาเจาะรู เพื่อให้น้ำระบายออก สำหรับการห่อผลชมพู่ จะใช้ถุงพลาสติกห่องในช่วงที่ชมพู่ออกผลในระยะ ติดหมวกปล้ว โดยผูกปากถุงด้วยเงื่อนชั้นเดียว ขนาดถุงควรเป็นขนาด 6*11 นิ้ว ในบางกิ่งที่ผลชมพู่อาจได้รับอัตรายจาแสงแดดเผา ให้ผิวเสียหาย ควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ด้านนอกอีกชั้นหนึ่งด้วย สำหรับการคัดผลทิ้งนั้น ควรทำการคัดเลือกผลที่ถูกโรคและแมลงรบกวน และผลที่มีขนาดเล็กหรือรูปร่าง ผิดปกติทิ้ง โดยเหลือไว้ช่อละ 3-4 ผล เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกันเอง เพราะจะทำให้ผลมีขนาดเล็ก
นกยังเป็นศัตรูตัวฉกาจอีกตัวหนึ่งของชมพู่ เพราะถึงแม้เราจะห่อผลชมพู่ด้วยถุงพลาสติกแต่ก็ไม่สามารถ ป้องกันได้ เพราะปากอันแหลมคมของนกจะสามารถเจาะผ่านถุงได้ สำหรับเทคนิคการป้องกันนกเข้าทำลายผลผลิต คุณสมมาตรจะใช้ผแผ่นซีดีด้านที่สะท้อนแสง แขวนติดไว้กับต้นชมพู่ จะทำให้ เกิดแสงสะท้อนเข้าตานกได้เป็นอย่างดี และนกก็จะกลัวแสงสะท้อนที่มาจากแผ่นซีดีด้วย
ที่สวนจะเน้นใช้วิธีการตามธรรมชาติลดใช้เคมีให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะทำปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้เอง แต่ก็จะมีใช้สารเคมีบ้างเล็กน้อย ในช่วงที่จำเป็น เช่นช่วงที่ออกดอกก็จะเลือกใช้สารเคมีที่มีสลายตัวได้เร็ว เมื่อใกล้เก็บเกี่ยวก็จะงดใช้สารเคมีจึงทำให้ชมพู่ที่ออกจากสวนนี้ไปปลอดสาร เคมีตกค้างแน่นอน
เทคนิคการเพิ่มรสหวานในผลชมพู่ : สำหรับ การผลิตชมพู่รสหวานนั้น คุณสมมาตรให้เทคนิคไว้ว่า จะต้องมีการงดน้ำ ก่อนการเก็บเกี่ยว 3-5 วัน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินด้วย ถ้าเป็นดินเหนียวควร วันงดการให้น้ำให้นานกว่านี้ อาจเป็น 5-7 วัน แต่ที่สวนจะหยุดให้น้ำก่อนเก็บ 3 วัน เท่านั้น เพราะแปลงปลูกชมพู่ไม่ได้ยกร่อง หรือ มีน้ำขัง ต้นจึงไม่ได้แช่อยู่ในน้ำ แม้ชมพู่ จะเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำมากแต่ช่วงก่อนเก็บผลผลิตเราควรงดน้ำก็จะทำให้ชมพู่มี รสหวาน เพราะการที่ชมพู่ได้น้ำอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ผลชมพู่ใหญ่ขึ้นก็จริง แต่ก็จะทำให้ความหวานลดลงไปด้วยเช่นกัน คุณสมมาตรกล่าว
การเก็บเกี่ยวผลผลิตชมพู่ทับทิมจันทร์ : หลัง ออกดอกได้ 85 วัน จึงจะมีอายุพร้อมเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว 3 วัน ควรงดน้ำ การเก็บผลชมพู่ควงรเลือกเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้ผลแตกร่วงเสียหายได้ ส่วนการเก็บจะใช้กรรรไกรตัดที่ขั้ว จะสะดวกและรวดเร็ซ ควรเก็บมาทั้งถุงที่ก่อ แล้วใส่ตะกร้า ที่บุด้วยกระดาษ เพื่อป้องกันความคมของภาชนะทำให้ผิวผลบอบช้ำ จากนั้นจึงนำผลผลิตมาคัดเพื่อรอส่งต่อพ่อค้า
ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)
コメント