top of page

การปฏิบัติดูแลรักษาสวนมังคุดเพื่อการส่งออก


ระยะออกดอก เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ การให้น้ำ ต้นมังคุดที่สะสมอาหารจนสภาพต้นสมบูรณ์  เมื่อผ่านสภาพแห้งแล้ง มาระยะหนึ่งจะทยอยออกดอก เมื่อออกดอกได้มากพอแล้ว จึงเริ่มให้น้ำได้มากขึ้น  โดยเริ่มให้น้ำจากน้อยไปหามาก และให้อย่างสม่ำเสมอ

การป้องกันกำจัดโรคแมลง เพลี้ยไฟและไรแดงเป็นศัตรูที่สำคัญในระยะการเจริญของดอกและผลอ่อน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกพัฒนาช้าแลร่วง  ผลมีรอยตำหนิ ผิวกร้านหรือตกกกระ ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเป็นระยะ ดังนี้ - เพลี้ยไฟใช้คาร์โบซัลแฟนหรือโมโนโครโตฟอส - ไรแดงใช้ไดโคโฟล

ระยะดอกทยอยบาน และติดผลเล็ก เดือนมีนาคม ถึง เมษายน การให้น้ำ ใกล้ดอกบานงดการให้น้ำ จนกว่าดอกบาน หลังดอกบาน 3-4 วัน ทยอยให้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ผลเจริญเติบโตดี การใส่ปุ๋ย หลังดอกบานและมังคุดติดผลขนาดเล็กแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ต้น  เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผล เมื่อมังคุดมีอายุประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยบำรุงผล  สูตร 12-12-17-2  หรือ 13-13-21  อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น และหมั่นสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟและไรแดง หากพบให้รีบควบคุม

ระยะเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อลดปัญหาผลแตกยางไหล  และช่วยให้ผลเจริญเติบโตได้ดี การเก็บเกี่ยว หลังจากมังคุดติดผลประมาณ 11-12 สัปดาห์  เริ่มจะทยอยเก็บเกี่ยวได้ ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์การเก็บเกี่ยว และแรงงานให้พร้อม การเก็บเกี่ยวผลที่แก่พอเหมาะ คือ เมื่อผลมังคุดมีรอยประสีชมพู โดยใช้เครื่องมือเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และเมื่อเก็บผลมังคุด ให้รีบลำเลียงไว้ในที่ร่มทำความสะอาดและคัดขนาด  เพื่อรอการจำหน่าย

ระยะบำรุงต้น เดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม หลังเก็บเกี่ยวควรรีบตัดแต่งกิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลายกิ่งแห้ง กิ่งฉีกหักเสียหาย และตัดแต่งปลายกิ่งที่ทรงพุ่มชนกัน รวมทั้งกิ่งที่บังแสงกันเอง  เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องถึง และอากาศถ่ายเทได้ดี ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16  อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น พร้อมปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 2-3 ปี๊บ/ต้น

ระยะเจริญแตกใบอ่อน เดือนกันยายน ถึง ตุลาคม การให้น้ำ ในระยะฝนทิ้งช่วง ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยแร่งดอก  สูตร 8-24-24  หรือ  9-24-24  อัตรา  1-2  กิโลกรัม/ต้น  เพื่อให้ต้นมังคุดสร้างตาดอก กำจัดวัชพืช มีการกำจัดวัชพืชเป็นระยะ เพื่อให้สวนสะอาด ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมโรค และเป็นแหล่งอาศัยของแมลงศัตรูพืช

ระยะเจริญเติบโตทางใบ เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน การป้องกันกำจัดโรคและแมลง หมั่นสำรวจการระบาดของโรคและแมลง ถ้ามีการระบาดควรรีบกำจัด เพื่อให้ใบอ่อนเจริญเป็นใบแก่ ที่สมบูรณ์ต่อไป

โรคและแมลงที่สำคัญ ได้แก่ 1. หนอนกัดกินใบและหนอนชอนใบ ให้ฉีดพ่นด้วนสารเคมีคาร์บาริล 2. โรคใบจุด ระบาดมากในสวนที่มีความชื้นสูง ต้องป้องกันตั้งแต่ระยะแตกใบอ่อน โดยฉีดพ่นสารเคมี คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ คาร์เบนดาซิม

การจัดการอื่น ๆ เตรียมอุปกรณ์การให้น้ำ และตรวจสอบระบบน้ำที่ใช้ในสวนให้พร้อมใช้งาน  และจัดทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟไหม้สวนในหน้าแล้งที่จะถึง ระยะฟักตัวสะสมอาหาร เดือนพฤศจิกายน ถึง กันยายน การให้น้ำ ในระยะฟักตัวงดการให้น้ำ เพื่อเตรียมการให้ออกดอก  แต่ถ้าสภาพอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ต้องให้น้ำช่วย  แต่ควรให้ในปริมาณน้อย ที่มา www.cyto.biz (ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยไซโต)

#ปุ๋ยอินทรีย์ #ปุ๋ยมูลค้างคาว #ปุ๋ยไซโต

Comments


bottom of page