

โทร. 089-9803982 , 093-4696289

ส่วนประกอบของปุ๋ย อินทรีย์ไซโต
วัตถุดิบทุกชนิดที่นำมาผลิตปุ๋ยไซโต เป็นวัตถุดิบที่เป็นปุ๋ยและเป็นอาหารของพืชทั้งสิ้น ไม่ใช่กากของเสียจากของเหลือใช้
ที่ไม่มีสารเติมเต็ม ทั้งเม็ดคือเนื้อปุ๋ย แม้แต่วัตถุดิบขึ้นเม็ดที่โรงงานปุ๋ยโดยทั่วไปมักใช้ดินธรรมดา แต่ปุ๋ยไซโตใช้ดินขี้กุ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งที่ชาวบ้านมักนำมาใส่ต้นไม้แทนปุ๋ย เนื่องจากดินขี้กุ้งมี ซีโอไลท์ + หินภูเขาไฟ ที่เป็นอาหารของพืชโดยผ่านกรรมวิธีและตากแห้งแล้ว มาผสมผสานกับเทคโนโลยีจากธรรมชาติ และมีนักวิชการซึ่งเป็นประธานกลุ่มที่มีประสบการณ์ด้านนี้มากกว่า 20 ปี ดูแลควบคุมคุณภาพและควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน ปุ๋ยไซโตจึงเป็นปุ๋ยคุณภาพสูง ปริมาณการใช้เท่าปุ๋ยเคมี ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตรและเป็นปุ๋ยเพียงรายเดียวที่ได้รับเป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปุ๋ยอินทรีย์ไซโต มีส่วนประกอบหลัก 8 ชนิด อาทิ
1. มูลค้างคาว มีมูลค้างคาวอายุนับ100ปี เป็นสูตรผสม50% ซึ่งจะมีธาตุอาหารที่จำเป็น สำหับพืชครบทุกชนิดทั้ง
ธาตุอาหารหลักอาหารรองและอาหารเสริมเช่น โบรอน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม
2. ฮอร์โมนไซโตไคนิน เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจากธรรมชาติที่นำมาใช้กับพืชทุกชนิด เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดปริมาณ
การใช้ปุ๋ย แก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง ปาล์มลูกลีบ และยังทำให้ปาล์ม ผลดก ลูกโต ติดลูกตลอดปี ไม่ขาดคอ
-
ช่วยกระตุ้นให้เกิดหน่อและตาใหม่ที่แข็งแรง เช่น ยางเล็กจะแตกยอดต่อฉัตรตลอดปี ลำต้นอวบโต เห็นผลหลังจากใช้ปุ๋ยภายใน 15 วัน
-
เพิ่มกระบวนการสังเคราะห์แสง ลดปัญหาการพรางใบ ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนไซโตไคนิน เพิ่มการดูดซึมและสร้างสารอาหารได้ดีขึ้น ทำให้น้ำยางข้น หนักดี เปอร์เซ็นน้ำยางเพิ่ม 40-44% ปาล์มทะลายใหญ่ผลโต น้ำหนักต่อทะลายสูง
-
ยืดเวลาการติดดอก ทำให้มีโอกาสได้รับการผสมเกสรมากขึ้น ไม้ผลจึงผลดก
-
ป้องกันโรคใบหงิก รากเน่า ต้นเน่า เก็บเกี่ยวได้ยาวนานขึ้น เช่น พริก มะเขือ ถั่ว แตง บวบ ฯลฯ
-
ช่วยชะลอการแก่ของใบ ทำให้ยางผลัดใบช้าลง เพิ่มวัดกรีดได้มากขึ้น
3. สารคีเลต ทำหน้าที่ละลายธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน และที่ตกค้างในดินจากการใช้ปุ๋ยเคมีให้พืชนำกลับมาใช้ได้
อย่างสมบูรณ์ ทำให้เพิ่มประสิทธิ์ภาพการใช้ปุ๋ยได้ 100%
-
ปรับสภาพโครงสร้างดินที่เสียจากการใช้ปุ๋ยเคมีและปลูกพืชซ้ำๆให้ดีดังเดิม
-
ทำหน้าที่ขนส่งปุ๋ยให้กับรากได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ปุ๋ยที่ละลายเร็วถูกจับส่งให้กับพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียปุ๋ยจากการระเหิดระเหยไปในอากาศและตกค้างในดิน
-
ทำหน้าที่ละลายธาตุอาหารรองและอาหารเสริม เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โบรอน ฯลฯ ที่มีอยู่ในดินและในปุ๋ยไซโตให้พืชสามารถนำมาใช้ โดยไม่ต้องใส่ธาตุอาหารรองเพิ่มให้สิ้นเปลืองเวลาและต้นทุนการใช้ปุ๋ย
4.จุลินทรีย์ ใช้ EM จากประเทศญี่ปุ่น ทำหน้าที่ ตรึงธาตุอาหารหลัก คือ
-
ไรโซเบี่ยม แฟรงเคีย ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจนในอากาศและปลดปล่อยในรูปไนเตรต เพื่อให้พืชนำไปใช้ในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
ไมโคไรซ่า (ที่อาศัยอยู่กับรากพืช) จะผลิตกรดออกมาละลายฟอสฟอรัสที่ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ดีขึ้นเนื่องจากฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมากแต่เป็นธาตุที่ละลายน้ำได้ไม่ดีและเคลื่อนที่ในดินได้น้อยมาก พืชที่มีระบบรากไม่ได้มักได้รับธาตุอาหารนี้ไม่เพียงพอ
-
บาซิลัส ทำหน้าที่ตรึงโพแทสเซียม(k) โดยปล่อยกรดอ่อนๆมาสลายธาตุโปแทศเซียม เพื่อให้โปแทสเซียมสามารถเคลื่อนที่ได้ดีขึ้นและรากพืชสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ดีขึ้น

